ผู้นำแก้ไขปัญหาอากาศร้อน ระบบประหยัดพลังงานรักษาสิ่งแวดล้อมในโรงงาน
09-6936-4628
เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900
บริการแก้ไขปัญหาอากาศร้อน ประหยัดพลังงาน อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม แก้ไขปัญหาอากาศร้อนในโรงงานด้วยระบบอีแวป ระบายอากาศ ประหยัดพลังงาน อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมบริการแก้ไขปัญหาอากาศร้อน ประหยัดพลังงาน อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม แก้ไขปัญหาอากาศร้อนในโรงงานด้วยระบบอีแวป ระบายอากาศ ประหยัดพลังงาน อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมบริการแก้ไขปัญหาอากาศร้อน ประหยัดพลังงาน อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม แก้ไขปัญหาอากาศร้อนในโรงงานด้วยระบบอีแวป ระบายอากาศ ประหยัดพลังงาน อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
12 วิธีลดความร้อนในอุตสาหกรรม

12 วิธีลดความร้อนในอุตสาหกรรม

12 วิธีลดความร้อนในอุตสาหกรรม

12 วิธีลดความร้อนในอุตสาหกรรม รู้หรือไม่พลังงานความร้อนเป็นพลังงานรูปแบบหนึ่งที่เรานำมาใช้ประโยชน์ เรานำมาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันทั้งในชีวิตประจำวันและในการทำงาน ซึ่งเราสามารถรับความร้อนได้จากการสัมผัส ความร้อนจัดเป็นอันตรายทางกายภาพ ที่สำคัญในสถานประกอบการในโรงงานอุตสาหกรรม เรามักจะพบผู้ปฏิบัติงานประสบปัญหาจากความร้อน ในกระบวนการผลิตหรือเครื่องจักรต่างๆ ปกติความร้อนสามารถถ่ายเทระหว่างคนและสิ่งแวดล้อม การพาความร้อน (convection) และการแผ่รังสีความร้อน (radiation) โดยความร้อนในการทำงานแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ

  1. ความร้อนแห้ง เป็นความร้อนที่ออกมาจากอุปกรณ์ในการวิธีการผลิตที่ร้อน และมักจะอยู่รอบๆบริเวณพื้นที่ปฏิบัติงาน
  2. ความร้อนชื้น เป็นสภาพที่มีไอน้ำมีความชื้นในอากาศ ซึ่งเกิดจากกรรมวิธีผลิตแบบเปียก

ประเภทโรงงานอุตสาหกรรมที่เสี่ยงต่อความร้อนในการทำงานได้แก่ โรงงานหลอมโลหะและอโลหะ โรงงานผลิตเซรามิก โรงงานผลิตเครื่องแก้ว โรงงานผลิตผลิตภัณฑ์ยาง โรงงานผลิตกระดาษ โรงงานอุตสาหกรรมอาหารกระป๋อง เป็นต้น วันนี้กินกรีนมี 12 วิธีลดเสี่ยงอันตราย จากความร้อนในโรงงานอุตสาหกรรม มาฝากกันค่ะ

1. โครงสร้างอาคารต้องมีระบบระบายอากาศที่ดี สามารถถ่ายเทความร้อนระหว่างภายในและนอกอาคารได้

2. การติดตั้งพัดลมระบายความร้อนบริเวณที่เป็นแหล่งกำเนิดความร้อน เพื่อช่วยให้อากาศถ่ายเทได้ดีขึ้น และช่วยลดความร้อนให้แก่ผู้ปฏิบัติงานด้วย

3. ติดตั้งพัดลมระบายอากาศในบริเวณหลังคาของอาคาร เพื่อช่วยเพิ่มการระบายอากาศให้มากขึ้น และช่วยลดอุณหภูมิภายในอาคารอีกด้วย

4. ติดตั้งท่อระบายความร้อนเพื่อระบายความร้อนออกนอกอาคาร

5. ใช้แผ่นกันความร้อนหรือฉนวนกันความร้อนหุ้มแหล่งกำเนิดความร้อน เช่น หุ้มท่อน้ำร้อนแทงค์น้ำร้อนและหม้อไอน้ำ เพื่อลดความเสี่ยงการแผ่รังสีความร้อนและการพาความร้อน

6. นำฉากมากั้นเพื่อป้องกันการแผ่รังสีความร้อน โดยใช้ฉากอลูมิเนียมกั้น ระหว่างจุดที่เป็นแหล่งกำเนิดความร้อนกับผู้ปฏิบัติงานออกจากกัน

7. สวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล หรือชุดเสื้อคลุมพิเศษที่มีคุณสมบัติ กันความร้อนโดยเฉพาะทุกครั้งที่ปฏิบัติงานเพื่อความปลอดภัยกับตัวคุณและเพื่อนร่วมงาน

8. ติดป้ายเตือน เพื่อช่วยเตือนสติให้ระวังอันตรายที่จะเกิดจากความร้อน

9. เพื่อลดอุณหภูมิของร่างกายผู้ปฏิบัติงานกับความร้อน ควรติดตั้งตู้น้ำดื่มเย็นเพื่อช่วยลดอุณหภูมิของร่างกายอีกทาง

10. ควรจัดหาน้ำเกลือแร่ให้ผู้ปฏิบัติงานกับความร้อน เพราะน้ำเกลือแร่จะช่วยเพิ่มน้ำภายในร่างกาย ให้กับผู้ที่อยู่ในสภาวะขาดน้ำหรือสูญเสียน้ำในร่างกายมากๆ

11. ลดระยะเวลาการทำงานเพื่อช่วยผู้ปฏิบัติงาน ลดความเสี่ยงการสัมผัสกับความร้อนนานเกินไป

12. ทำห้องปรับอากาศสำหรับพักผ่อน หรือห้องอาบน้ำ เพื่อเป็นตัวช่วยในการคายความร้อน เพียงเท่านี้ก็จะช่วยลดความร้อน ความเสี่ยงในการสัมผัสความร้อนในการทำงานได้

ข้อมูล: สถาบันส่งเสริมความปลอดภัยฯ- องค์การมหาชน

Leave A Comment