กฎหมายความร้อนในโรงงานที่เกี่ยวข้อง
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมเรื่องมาตรการคุ้มครองความปลอดภัยในการประกอบกิจการโรงงานเกี่ยวกับสภาวะแวดล้อมในการทางานพ. ศ. 2546 และกฎกระทรวงเรื่องกาหนดมาตรฐานในการบริหารและจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทางาน เกี่ยวกับความร้อน แสงสว่าง และเสียง พ.ศ. 2549 ซึ่งได้กาหนดมาตรฐานระดับความร้อนที่จะไม่เป็นอันตรายต่อคนงานที่ต้องทางานในสภาวะการทางานที่มีอุณหภูมิสูงไว้ดังตารางที่ 1 นอกจากนั้นกฏกระทรวงยังกาหนดให้สถานประกอบกิจการต้องจัดให้มีการตรวจวัดและวิเคราะห์สภาวะการทางานเกี่ยวกับระดับความร้อนแสงสว่างและเสียงภายในสถานประกอบกิจการในกรณีที่ภายในสถานประกอบกิจการมีระดับความร้อนเกินมาตรฐานที่กาหนด ให้นายจ้างดาเนินการปรับปรุงหรือแก้ไขสภาวะการทางานทางด้านวิศวกรรมให้ระดับความร้อนไม่เกินมาตรฐาน หากได้ดาเนินการปรับปรุงหรือแก้ไขสภาวะการทางานแล้ว ยังควบคุมให้เป็นไปตามมาตรฐานดังกล่าวไม่ได้ ให้นายจ้างปิดประกาศเตือนให้ลูกจ้างทราบว่าบริเวณนั้นอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของลูกจ้าง และนายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้างสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลตามที่กาหนดตลอดเวลาที่ทางาน (แสดงดังภาพที่ 2)
ลักษณะงาน | การเผาผลาญพลังงานในร่างกาย กิโลแคลอรี่/ชั่วโมง | ระดับความร้อน(WBGT) องศาเซลเซียส |
งานเบา | น้อยกว่า 200 | 34 |
งานหนักปานกลาง | 200 – 350 | 32 |
งานหนัก | มากกว่า 350 | 30 |
ตารางที่ 1 แสดงมาตรฐานระดับความร้อน
นิยามศัพท์
ระดับความร้อน หมายความว่า อุณหภูมิความร้อนในบริเวณที่ปฏิบัติงานตรวจวัดเป็นอุณหภูมิเวตบัลบ์โกลบ (Wet Bulb Globe Temperature-WBGT) ค่าเฉลี่ยในช่วงเวลา2 ชั่วโมงที่มีอุณหภูมิเวตบัลบ์โกลบสูงสุดของการทางานปกติ
อุณหภูมิเวตบัลบ์โกลบ (Wet Bulb Globe Temperature-WBGT) หมายความว่า
(1) อุณหภูมิที่วัดเป็นองศาเซลเซียสซึ่งวัดนอกอาคารที่ไม่มีแสงแดดหรือในอาคารมีระดับความร้อนเท่ากับ 0.7 เท่าของอุณหภูมิที่อ่านค่าจากเทอร์โมมิเตอร์กระเปาะเปียกตามธรรมชาติบวก 0.3 เท่าของอุณหภูมิที่อ่านค่าจากโกลบเทอร์โมมิเตอร์หรือ
(2) อุณหภูมิที่วัดเป็นองศาเซลเซียสซึ่งวัดนอกอาคารที่มีแสงแดดมีระดับความร้อนเท่ากับ 0.7 เท่าของอุณหภูมิที่อ่านค่าจากเทอร์โมมิเตอร์กระเปาะเปียกตามธรรมชาติบวก 0.2 เท่าของอุณหภูมิที่อ่านค่าจากโกลบเทอร์โมมิเตอร์และบวก 0.1 เท่าของอุณหภูมิที่อ่านค่าจากเทอร์โมมิเตอร์กระเปาะแห้ง
สภาวะการทางาน หมายความว่า สภาวะแวดล้อมซึ่งปรากฏอยู่ในบริเวณที่ทางานของลูกจ้างซึ่งรวมถึงสภาพต่างๆในบริเวณที่ทางานเครื่องจักรอาคารสถานที่การระบายอากาศความร้อนแสงสว่างเสียงตลอดจนสภาพและลักษณะการทางานของลูกจ้างด้วย
งานเบา หมายความว่า ลักษณะงานที่ใช้แรงน้อยหรือใช้กาลังงานที่ทาให้เกิดการเผาผลาญอาหารในร่างกายไม่เกิน 200 กิโลแคลอรีต่อชั่วโมงเช่นงานเขียนหนังสืองานพิมพ์ดีดงานบันทึกข้อมูล งานเย็บจักรงานนั่งตรวจสอบผลิตภัณฑ์งานประกอบชิ้นงานขนาดเล็กงานบังคับเครื่องจักรด้วยเท้าการยืนคุมงานหรืองานอื่นที่เทียบเคียงได้กับงานดังกล่าว
งานปานกลาง หมายความว่า ลักษณะงานที่ใช้แรงปานกลางหรือใช้กาลังงานที่ทาให้เกิดการเผาผลาญอาหารในร่างกายเกิน 200 กิโลแคลอรีต่อชั่วโมงถึง 350 กิโลแคลอรีต่อชั่วโมงเช่นงานยกลากดันหรือเคลื่อนย้ายสิ่งของด้วยแรงปานกลางงานตอกตะปูงานตะไบงานขับรถบรรทุก งานขับรถแทรกเตอร์หรืองานอื่นที่เทียบเคียงได้กับงานดังกล่าว
งานหนัก หมายความว่า ลักษณะงานที่ใช้แรงมากหรือใช้กาลังงานที่ทาให้เกิดการเผาผลาญอาหารในร่างกายเกิน 350 กิโลแคลอรีต่อชั่วโมงเช่นงานที่ใช้พลั่วหรือเสียมขุดตักงานเลื่อยไม้งานเจาะไม้เนื้อแข็งงานทุบโดยใช้ค้อนขนาดใหญ่งานยกหรือเคลื่อนย้ายของหนักขึ้นที่สูงหรือที่ลาดชันหรืองานอื่นที่เทียบเคียงได้กับงานดังกล่าว
ภาพที่ 2 การทางานที่มีความร้อนในสถานประกอบการ