ผู้นำแก้ไขปัญหาอากาศร้อน ระบบประหยัดพลังงานรักษาสิ่งแวดล้อมในโรงงาน
09-6936-4628
เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900
บริการแก้ไขปัญหาอากาศร้อน ประหยัดพลังงาน อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม แก้ไขปัญหาอากาศร้อนในโรงงานด้วยระบบอีแวป ระบายอากาศ ประหยัดพลังงาน อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมบริการแก้ไขปัญหาอากาศร้อน ประหยัดพลังงาน อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม แก้ไขปัญหาอากาศร้อนในโรงงานด้วยระบบอีแวป ระบายอากาศ ประหยัดพลังงาน อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมบริการแก้ไขปัญหาอากาศร้อน ประหยัดพลังงาน อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม แก้ไขปัญหาอากาศร้อนในโรงงานด้วยระบบอีแวป ระบายอากาศ ประหยัดพลังงาน อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
โรคจากความร้อน ความเสี่ยงของคนทำงาน

โรคจากความร้อน ความเสี่ยงของคนทำงาน

โรคจากความร้อน ความเสี่ยงของคนทำงาน

โรคจากความร้อนอันตราย! กรมการแพทย์ โดยโรงพยาบาลนพรัตนราชธานี เตือนประชาชนให้ระวังอันตรายจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของประเทศไทย ทําให้เกิดปรากฏการณ์คลื่นความร้อนซึ่งมีผลต่อสุขภาพและทําให้เกิดโรคลมแดด ตะคริวจากความร้อน แนะนำดื่มน้ำมากๆ หลีกเลี่ยงการอยู่กลางแดดจัดและไม่ควรออกกำลังกายหรือทำงานกลางแดดเป็นเวลานาน

นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า จากสภาพอากาศของประเทศไทยซึ่งทุกภูมิภาครวมทั้งกรุงเทพมหานคร มีอากาศร้อนเพิ่มสูงขึ้น จึงขอเตือนกลุ่มเสี่ยงเกิดโรคจากคลื่นความร้อนได้ง่าย ได้แก่

  1. ผู้ที่ทำงานหรือทำกิจกรรมกลางแดด เช่น ออกกำลังกาย ผู้ใช้แรงงาน ก่อสร้าง เกษตรกร
  2. เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีและผู้สูงอายุ
  3. ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคความดันโลหิตสูง
  4. คนอ้วน
  5. ผู้ที่พักผ่อนไม่เพียงพอ
  6. ผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

ซึ่งโรคจากความร้อนเป็นภาวะผิดปกติในการตอบสนองของร่างกายต่อการสัมผัสความร้อนสูงกว่าปกติ และไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิให้อยู่ในระดับปกติได้ กลุ่มอาชีพที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคจากความร้อน ได้แก่ คนทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมที่มีแหล่งกำเนิดความร้อนจากเครื่องจักรหรือกระบวนการผลิตที่มีความร้อน เช่น โรงงานหล่อหลอมโลหะและอโลหะ โรงงานผลิตเซรามิค การถลุงเหล็ก การทำแก้ว การทำกระเบื้องเคลือบ การทำเหมืองเปิด การสำรวจแร่ น้ำมัน พนักงานดับเพลิง เป็นต้น

สาเหตุที่ทำให้เกิดการเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงานที่มีสภาวะแวดล้อมมีอุณหภูมิสูงกว่าปกติ คือ

  1. มีอุณหภูมิและความชื้นสูง การสัมผัสกับแสงแดดโดยตรง
  2. สถานที่ไม่มีการระบายอากาศหรือลมพัด
  3. ดื่มน้ำน้อย
  4. ทำงานที่ต้องใช้พลังงานมาก
  5. สวมเสื้อผ้าที่ระบายเหงื่อไม่ดี
  6. ไม่เคยชินกับการทำงานในที่มีอากาศร้อนมาก่อน

ดังนั้นผู้ปฏิบัติงานควรหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่จะเกิดในระหว่างปฏิบัติงานเพื่อป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้น

นายแพทย์สมบูรณ์ ทศบวร ผู้อำนวยการโรงพยาบาลนพรัตนราชธานี กล่าวว่า การเจ็บป่วยเนื่องจากความร้อนเกิดขึ้นเมื่อกลไกการระบายความร้อนภายในร่างกายทำงานไม่ถูกต้องตามหน้าที่ ทำงานในที่มีอากาศร้อนหรือได้รับความร้อนโดยตรง จะทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยต่างๆ เนื่องจากในภาวะที่ร่างกายมีอุณหภูมิสูงขึ้น ระบบทำงานของศูนย์ควบคุมอุณหภูมิของร่างกายทำงานผิดปกติ ระบบการถ่ายเทความร้อนออกจากร่างกายไม่ได้ผลเกิดขึ้นได้ดังนี้

  1. ตะคริวจากความร้อน
  2. อาการเหนื่อยล้าจากความร้อน ได้แก่ เหงื่อออกมาก อ่อนเพลีย ชีพจรเต้นเร็ว ปวดศีรษะ วิงเวียน ผิวหนังเปียกชื้น อาจหมดสติ
  3. เป็นลมจากความร้อน มีอาการเปลี่ยนแปลงทางระบบประสาท ชักหมดสติ และอาจเสียชีวิต

ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันการเจ็บป่วยเนื่องจากความร้อนควรปฏิบัติดังนี้

  1. อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับอันตรายของความร้อนที่อาจทำให้เกิดการเจ็บป่วย และการป้องกันอันตรายจากความร้อน
  2. จัดให้มีน้ำเย็นและกระตุ้นให้คนงานดื่มน้ำบ่อยๆ ในระหว่างทำงานที่มีอากาศร้อน อย่างน้อยครั้งละ 1 แก้วทุก 20 นาที
  3. จัดให้มีช่วงเวลาพักบ่อยกว่าการทำงานในสภาพปกติ และบริเวณที่พักมีสภาพอากาศไม่ร้อน
  4. สวมใส่เสื้อผ้าที่ระบายอากาศได้ดี
  5. จัดหาอุปกรณ์ป้องกันความร้อนไม่ให้สัมผัสคนงานโดยตรง
  6. หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์หรือคาแฟอีน

โรคจากความร้อน ความเสี่ยงของคนทำงาน ขอบคุณที่มา: ไทยรัฐออนไลน์

Leave A Comment